วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ



รูปลักษณะและการตกแต่ง

องค์เจดีย์  สูง ๓๐ เมตร ตั้งบนเนินดินถมสูง ๗ เมตร รวมมีความสูงจากระดับพื้นดินเดิมถึงยอด ๓๗ เมตร
มีความหมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือ ธรรมเพื่อการตรัสรู้ ๓๗ ประการ


สัญฐาน เป็นรูป ๘ เหลี่ยม ทรงกรวย
ส่วนล่าง เป็นฐาน  หมายถึง  ทาน  ศีล  ภาวนา
กว้าง ๑๐.๕ เมตร
ส่วนกลาง มี ๘ ชั้น แสดงสัญลักษณ์ของ มรรค ๘
ส่วนยอด หมายถึง  นิพพาน

การตกแต่ง

ฐานส่วนล่าง  ประดับหินแกรนิตสีดำและภาพปั้นลายประติมากรรมดินเผาด่านเกวียน ( ลายปั้นเป็นประวัติย่อของท่าน )
ส่วนกลาง ปรับด้วยโมเสคแก้วสีชมพูอมแดง สีเดียวกับสีหินของภูทอก
ส่วนยอด ประดับด้วยโมเสคแก้วเช่นเดียวกันแต่เป็นสีชมพูสว่างเรืองแห่งการหลุดพ้น ไปสู่นิพพาน

การตกแต่ง ผนังตกแต่งด้วยหินอ่อนแก้ว ( Onyx ) เป็นลายยาวดุจม่านแก้ว พื้นเจดีย์ปูด้วยหินแกรนิตแก้วสีดำเหลือบมุก ผนังด้านหลังตอนกลาง เป็นแท่นหินอ่อนแก้ว ที่ประดิษฐานรูปปั้นเหมือนของท่านพระอาจารย์จวน   กุลเชฏโฐ ในท่ายืน  สูง  ๒.๘ เมตร  มีภาพประติมากรรมดินเผาด่านเกวียนเป็นฉากเบื้องหลัง  โดยรอบเป็นตู้แสดงอัฐบริขาร    

มณฑปพระธาตุ ตั้งอยู่ภายในองค์เจดีย์ ณ ตรงจุดศูนย์กลางแห่งเจดีย์ ซึ่งตรงกับจุดที่ตั้งจิตตกาธาน บนเมรุที่ถวายเพลิงเผาสรีระร่างของท่าน เป็นมณฑปรูป ๘ เหลี่ยมทำด้วยหินแกรนนิตสีเทา ไม่ขัดมัน ส่วนยอดปิดทอง

ประตูเจดีย์ บานประตูเป็นไม้ประดู่แผ่นเดียว แกะสลักด้วยลายที่เรียบง่าย ปิดทองและกระจกเพื่อรักษาเนื้อไม้กลางประตูด้านในเป็นรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงคาถายูงทอง ของ ท่านพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตตมหาเถระ  ที่ศิษย์ของท่านทุกองค์ระลึกถึงด้วยความเคารพและสวดสาธยายเป็นประจำ...นะโม วิมุตตานัง  นะโม วิมุตติยา

เหนือซุ้มประตู รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญอักษรย่อพระปรมาภิไธย  “ ภ.ป.ร. “ ประดิษฐานเหนือซุ้มประตูทั้ง ๓ ด้าน

ลานเจดีย์ ลานรอบองค์เจดีย์ เป็นรูป ๘ เหลี่ยม เช่นกัน กว้าง ๓๔ เมตร ปูกระเบื้องแผ่นเรียบ สีเทาอมเขียว ผนังของส่วนยกพื้นรอบลานใช้กรวดล้าง พื้นม้านั่งโดยรอบใช้หินอ่อนแก้ว

เนินดินรอบเจดีย์ จัดทำสวน ลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นตามระดับดิน ลงไปจนถึงบริเวณพื้นดินเดิมรวมทั้งอาณาบริเวณโดยรอบกลายเป็นสวนเจติยาคีรีวันอันสงบร่มรื่น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น